ห้องเรียนสาธิตภาษาไทยบูรณาการอิสลาม เล่มที่ 2 คาบที่ 28

ห้องเรียนสาธิตภาษาไทยบูรณาการอิสลาม เล่มที่ 2 คาบที่ 28
(ฌ เฌอ คือต้นไม้ ,ณ เณร ต้องอยู่วัด)
ณ Knowledge Center  ซ.จรัญสนิทวงศ์ 95/2 กรุงเทพ 10700

จุดประสงค์

  1. รู้วิธีการเขียน ฌ เฌอ , ณ เณร และจำนวนเส้นแบบต่างๆที่ประกอบเป็นพยัญชนะ
  2. เรียนรู้พยัญชนะ ฌ เฌอ , ณ เณร แบบบูรณาการอิสลาม สอนเรื่อง สิ่งที่อัลเลาะฮ์สร้าง,การบวช และกราบไหว้รูปปั้นถือว่าเป็นชิริก
  3. รู้ว่าพยัญชนะ ฌ เฌอ , ณ เณร มีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันอย่างไร
  4. มนุษย์ทุกคนจะต้องฟื้นคืนชีพเพื่อได้รับการสอบสวน
  5. รู้ว่ามุสลิมจะต้องเคารพสักการะอัลเลาะฮ์เพียงองค์เดียว
  6. นักเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอาหรับประจำพยัญชนะ คำว่า ต้นไม้ شَجَرَةٌ และคำว่า เณร رَاهِبٌ ได้

กิจกรรม

1. ครูพานักเรียนเดินดูต้นไม้รอบๆโรงเรียนพร้อมทั้งสนทนากับนักเรียน อัลเลาะฮ์ทรงสร้างต้นไม้มีชนิดต่างๆมากมาย ร่มรื่น อากาศบริสุทธิ์ ในวันกิยามะฮ์ผู้ที่ถูกตัดสินให้เข้าสวรรค์ เขาจะมีต้นไม้ที่ร่มรื่นในสวรรค์

2. ครูให้นักเรียนดูต้นไม้ที่มีพิษ เช่น สาวน้อยปะแป้ง ต้นไม้ที่นำมาทำยา เช่น ว่านหางจระเข้ หลังจากนั้นคุณครูแปะรูปต้นไม้กระจายไว้หลังห้อง ต้นไม้แตกแต่งกันออกไป หลังจากนั้นครูชูแผ่นภาพให้เด็กดูแล้วให้เด็กวิ่งไปหยิบภาพที่เหมือนกับต้นฉบับที่ครูชูมาให้ถูกต้อง

3.ให้นักเรียนบอกชื่อต้นไม้มาคนละ 1 ชื่อ และสนทนากับนักเรียนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นริสกีจากอัลเลาะฮ์ พร้อมอ่านอายะฮ์กุรอานให้นักเรียนฟัง

  ( 26 ) فَلْيَنظُرِ الْإِنسَانُ إِلَىٰ طَعَامِهِ ( 24 )  أَنَّا صَبَبْنَا الْمَاءَ صَبًّا ( 25 )  ثُمَّ شَقَقْنَا الْأَرْضَ شَقًّا

 ( 32 )  فَأَنبَتْنَا فِيهَا حَبًّا ( 27 )  وَعِنَبًا وَقَضْبًا ( 28 ) وَزَيْتُونًا وَنَخْلًا ( 29 )  وَحَدَائِقَ غُلْبًا ( 30 )  وَفَاكِهَةً وَأَبًّا ( 31 ) مَّتَاعًا لَّكُمْ وَلِأَنْعَامِكُمْ

ความว่า : ดังนั้น มนุษย์จงพิจารณาไปยังอาหารของเขาเถิด o แท้จริงเราได้หลั่งน้ำฝนอันอุดมสมบูรณ์ให้ตกลงมา  o แล้วเราได้แยกแผ่นดินออกอย่างแท้จริง  o และเราก็ให้เมล็ดพันธุ์พืชได้งอกเงยขึ้นจากในแผ่นดิน o และองุ่น และพืชผัก  o  และมะกอกและอินทผลัม O และเรือกสวนที่หนาทึบ ( ไปด้วยต้นไม้ต่าง ๆ ) O ตลอดจนบรรดาผลไม้และทุ่งหญ้า  O  ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเจ้า และแก่ปศุสัตว์ของพวกเจ้า

( ซูเราะฮ์-อะบะซะ : 24-32 )

   4. คุณครูนำภาพต้นไม้ที่มีผ้าผูก มีคนกราบไหว้ โดยสอนว่า การทำแบบนี้ถือว่าเป็นการทำชิริก ศาสนาอิสลามห้ามกระทำเด็ดขาด


5. ครูนำภาพเณรให้นักเรียนดูพร้อมสนทนากับนักเรียน ว่า เด็กเล็กๆที่บวชโกนศรีษะใส่ผ้าเหลืองกราบไหว้รูปปั้น ศึกษาหาความรู้ เรียกว่า เณร ส่วนพระสงฆ์ คือพระที่เป็นผู้ใหญ่ แต่มุสลิมไม่มีสถาบันสงฆ์ เณร นักบวช แต่ทุกคนต้องศึกษาศาสนา ปฏิบัติและเผยแพร่

عَن أَنَس بْنِ مَالِكٍ قَالَ :عَن النبيِّ صلَّى اللهُ عليهِ وسلَّم أنه قالَ : طَلَبُ العِلْمِ فَرِيْضَةٌ عَلَىْ كُلِّ مُسْلِمٍ

( 224 رَوَاه ابْن مَاجَه )

ความว่า : รายงานจากอนัส บินมาลิก กล่าวว่า ท่านนะบี  ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า : การศึกษาหาความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน

( บันทึกโดยอิบนิมาญะฮ์ : 224 )

لَكُمْ دِينُكُمْ وَلِيَ دِينِ

ความว่า : สำหรับพวกท่านก็คือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉันก็คือศาสนาของฉัน

(ซูเราะฮ์ อัลกาฟิรูน : 6)

    6. คุณครูนำรูปต้นไม้ที่ไม่มีใบให้นักเรียนนำกระดาษ ที่ตัดเป็นรูปใบไม้มาแปะที่ต้นไม้ของตัวเองให้สวยงาม ตามลิ้งค์นี่ค่ะhttps://101clipart.com/tree-clipart-no-leaves/

             

    7. คุณครูสอนคำศัพท์ภาษาอาหรับคำว่า شَجَرَةٌ และคำว่า رَاهِبٌ  และให้เขียนพร้อมกันบนอากาศแล้วถามว่าการเขียน ฌ. เฌอและ ณ.เณร มีเส้นกี่เส้น สองตัวนี้มีความคล้ายและแตกต่างกันอย่างไร

8. คุณครูให้นักเรียนออกมาเขียน ฌ. เฌอ , ณ.เณรทีละคนบนกระดาน คุณครูอธิบายกิจกรรมในแบบฝึกหัดและเริ่มลงมือทำ

                

   9. คุณครูทวนคำศัพท์ภาษาอาหรับที่เรียนมาด้วยบัตรคำ แล้วให้นักเรียนท่องศัพท์ภาษาอาหรับก่อนออกจากห้องคนละ 3 คำ

อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม

               

       

สรุปท้ายชั่วโมง

  1. อัลเลาะฮ์สร้างต้นไม้มาเพื่อเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ เช่นราก นอกจากจะช่วยดูดซึมน้ำแล้ว ต้นไม้บางชนิดยังสามารถนำมาทำยา อาหารได้อีกด้วย
  2. เณรคือ เด็กที่เข้าไปบวชในวัดเพื่อแสวงหาความรู้ ต่างกับเด็กมุสลิมคือเณรจะไม่เชื่อในอัลเลาะฮ์ ไม่ว่าจะศาสนาไหน เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ และทุกคนจะต้องทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศตามขอบเขตที่สามารถทำได้
  3. นักเรียนสามารถแยะแยะระหว่าง เณร กับพระสงฆ์ได้
  4. สามารถท่องศัพท์คำว่า ต้นไม้ شَجَرَةٌ  และเณร رَاهِبٌ  ได้
  5. อักษร ฌ. เฌอ , ณ.เณรประกอบด้วยเส้น 6 เส้น
  6. ถามนักเรียนว่า วันนี้เราทำกิจกรรมอะไรบ้าง ?

Leave a Reply