ประวัติท่านคอลิด บิน วะลีด

ท่านคอลิด บิน วะลีด  คอลิด บิน อัล-วะลีด บิน อัล-มุฆีเราะฮฺ อัล-กุเราะชีย์ อัล-มัคซูมีย์ อัล-มักกีย์  เป็นลูกของพี่สาวของท่านหญิงมัยมูนะฮฺ บินตี อัล-หาริษ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา (ภรรยาของท่านนบี) เขาเป็นชายร่างใหญ่ ไหล่กว้าง แข็งแรงบึกบึน คล้ายกับอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ มากที่สุด เศาะหาบะฮฺท่านนี้มีเหตุการณ์สำคัญๆ มากมายที่แสดงถึงกล้าหาญของท่านและการทุ่มเทให้ความช่วยเหลือศาสนาอิสลามของท่าน เช่น ในสงครามมุอ์ตะฮฺที่โด่งดัง ซึ่งเกิดขึ้นในปีที่แปดฮิจญ์เราะฮฺ ปีเดียวกันกับคอลิดเข้ารับอิสลาม ทหารมุสลิมมีจำนวนสามพันคน ในขณะที่ทหารโรมันมีจำนวนถึงสองแสนคน เนื่องจากจำนวนไม่เหมาะสมกัน ทำให้เห็นความเป็นผู้นำรบที่ยิ่งใหญ่ในหมู่มุสลิม            ท่านนบี  ได้แต่งตั้งผู้นำทัพให้แก่ ซัยด์ บิน หาริษะฮฺ หากเขาถูกฆ่า ก็ให้ท่านยะอฺฟัรฺ บิน อบี ฏอลิบ นำแทน และหากยะอฺฟัรฺตายก็ให้อับดุลลอฮฺ บิน เราะวาหะฮฺ นำทัพต่อ สุดท้ายทั้งหมดก็ตายชะฮีด หลังจากนั้นท่านษาบิต บิน อัรก็อม ได้คว้าธงรบชูไว้ แล้วถามบรรดาทหารมุสลิมว่า พวกท่านจงแต่งตั้งผู้นำทัพของเราหนึ่งคน  แล้วพวกเขาก็เลือกคอลิด บิน อัล-วะลีด  ตรงนี้เองความกล้าหาญยิ่งของท่านคอลิด […]

ท่านหญิงฮาญัรและนะบีอิสมาอีลถูกทิ้งกลางทะเลทราย

ท่านหญิงฮาญัรและนะบีอิสมาอีลถูกทิ้งกลางทะเลทราย ครั้งหนึ่งอัลเลาะฮ์ ตะอาลา ได้มีบัญชา ให้นะบีอิบรอฮีมนำพระนางฮาญัรและนะบีอิสมาอีล ไปยังมักกะห์ เมื่อเดินทางมาถึงวาดี ในขณะนั้นเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้ ไม่มีน้ำ ไม่มีคนอยู่อาศัย ไม่มีอะไรเลย ท่านปล่อยพระนางฮาญัรและอิสมาอีลไว้ที่นั้น แล้วท่านก็ไปโดยไม่หันกลับมามอง พระนางฮาญัรจึงถามว่า “ โอ้ อิบรอฮีม ท่านกำลังทิ้งเราหรือ ที่นี่ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร ไม่มีคน” ท่านนบีอิบรอฮีมมิได้ตอบสิ่งใด นางก็ตามท่านไปและเซ้าซี้ท่านด้วยคำถามเดิม จนกระทั่งนางถามว่า “อัลเลาะฮ์ ทรงรับสั่งสิ่งนี้กับท่านหรือ?” ท่านกล่าวว่า “ใช่” นางกล่าวว่า “ท่านจงไปเถิด อัลเลาะฮ์ไม่มีวันทอดทิ้งเรา เหลือเพียงพระนางฮาญัรกับลูกน้อยของนาง อิสมาอีล อยู่กันตามลำพัง โดยปราศจากน้ำและอาหาร นางหิวมาก และเด็กน้อยอิสมาอีล อะลัยฮิสสลาม ก็เริ่มร้องไห้งอแง  นางจึงรีบรุดไปยังภูเขาที่อยู่ใกล้ที่สุดซึ่งมีชื่อว่า อัศ-ศ่อฟาและไปยังภูเขาอีกลูกซึ่งมีชื่อว่า อัล-มัรวะฮฺ นางมองหาแต่ก็ไม่พบสิ่งใด นางรู้สึกว่านางห่างจากอิสมาอีลไกลเกินไปแล้ว (มัรวะฮฺอยู่ไกลกว่าศ่อฟา) นางจึงมุงหน้าไปยังภูเขาอัศ-ศ่อฟาอีกครั้ง ด้วยรู้สึกว่ามันใกล้กับลูกของนางมากกว่า นางเดินกลับไปกลับมาอยู่ระหว่างอัศ-ศ่อฟา และอัล-มัรวะฮฺ ถึงเจ็ดรอบ (และการซะแอของบรรดามุสลิมีน ก็เพื่อรำลึกถึงเรื่องราวนี้) ในครั้งที่เจ็ดที่นางไปถึงภูเขามัรวะฮฺ นางได้ยินเสียงลูกร้อง […]

อัศฮาบุ้ลอุคดู้ด

อัศฮาบุ้ลอุคดู้ด ตอนที่ 1 (เด็กหนุ่มกับนักมายากลและนักบวช) นาน มาแล้ว…ในสมัยประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้า มีกษัตริย์องค์หนึ่ง พระองค์ทรงมีนักมายากลส่วนพระองค์คนหนึ่ง หลังจากที่เขาได้ชราภาพลง เขาจึงกล่าวแก่กษัตริย์พระองค์นั้นว่า “ข้าน้อยอายุมากแล้ว อายุขัยกำลังย่างกรายมาหาข้าน้อยแล้ว ดังนั้น ขอพระองค์ทรงส่งมอบเด็กหนุ่มให้แก่ข้าน้อยสักคนหนึ่ง เพื่อที่ข้าน้อยจะได้เสี้ยมสอนวิชามายากลให้แก่ (ก่อนที่ข้าน้อยจะลาจากโลกนี้ไป)” กษัตริย์จึงได้ (คัดเลือกและ) ส่งเด็กหนุ่มคนหนึ่งไป (ร่ำเรียนวิชามายากล) กับนักมายากลคนนั้น ดังนั้นนักมายากลผู้แก่ชราคนนั้นจึงได้เริ่มสั่งสอนวิชา (การต่างๆเกี่ยวกับ) มายากล (แก่เด็กหนุ่มคนนั้น) ในระหว่าง (เส้นทางจากตำหนักของ) กษัตริย์ (บ้านพักของเด็กหนุ่ม) กับ (บ้านพักของ) นักมายากลนั้นมีนักบวช อยู่คนหนึ่งอาศัยอยู่ ทุกครั้งที่เด็กหนุ่มคนนั้นเดินผ่านยัง (ที่พักของ) นักบวชคนนั้น เด็กหนุ่มก็จะแวะนั่งฟังคำเทศนาของนักบวชท่านนั้น และติดใจและเคลิ้มในเส้นทางและคำพูดของเขา (จนทำให้เด็กหนุ่มเดินทางไปหานักมายากลสาย) ดังนั้นพอเด็กหนุ่มเดินทางไปถึงยังบ้านพักของนักมายากล นักมายากลก็จะเฆี่ยนตีเขา และถามเขาว่า “สิ่งใดได้กักตัวเจ้าไว้ (ทำไมเจ้าถึงได้มาสาย)?” (พอเด็กหนุ่มเดินทางกลับบ้าน เด็กหนุ่มก็จะแวะนั่งฟังคำเทศนาของนักบวชจนเพลินอีก) พอเด็กหนุ่มกลับไปถึงบ้าน ครอบครัวที่บ้านก็จะเฆี่ยนตีเขาอีก และจะถามเขาว่า “สิ่งใดได้กักตัวเจ้าไว้ (ทำไมเจ้าถึงได้กลับมาถึงบ้านสาย)?” (วันต่อมา) เด็กหนุ่มคนนั้นจึงได้เล่าเรื่องราวที่เขาถูกทางบ้านและนักมายากลเฆี่ยนตี เพราะไปเรียนสายและกลับบ้านสายให้แก่นักบวชฟัง นักบวชจึงสอน […]