อัศฮาบุ้ลอุคดู้ด

อัศฮาบุ้ลอุคดู้ด

ตอนที่ 1 (เด็กหนุ่มกับนักมายากลและนักบวช)

นาน มาแล้ว…ในสมัยประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้า มีกษัตริย์องค์หนึ่ง พระองค์ทรงมีนักมายากลส่วนพระองค์คนหนึ่ง หลังจากที่เขาได้ชราภาพลง เขาจึงกล่าวแก่กษัตริย์พระองค์นั้นว่า

“ข้าน้อยอายุมากแล้ว อายุขัยกำลังย่างกรายมาหาข้าน้อยแล้ว ดังนั้น ขอพระองค์ทรงส่งมอบเด็กหนุ่มให้แก่ข้าน้อยสักคนหนึ่ง เพื่อที่ข้าน้อยจะได้เสี้ยมสอนวิชามายากลให้แก่ (ก่อนที่ข้าน้อยจะลาจากโลกนี้ไป)” กษัตริย์จึงได้ (คัดเลือกและ) ส่งเด็กหนุ่มคนหนึ่งไป (ร่ำเรียนวิชามายากล) กับนักมายากลคนนั้น ดังนั้นนักมายากลผู้แก่ชราคนนั้นจึงได้เริ่มสั่งสอนวิชา (การต่างๆเกี่ยวกับ) มายากล (แก่เด็กหนุ่มคนนั้น)

ในระหว่าง (เส้นทางจากตำหนักของ) กษัตริย์ (บ้านพักของเด็กหนุ่ม) กับ (บ้านพักของ) นักมายากลนั้นมีนักบวช อยู่คนหนึ่งอาศัยอยู่ ทุกครั้งที่เด็กหนุ่มคนนั้นเดินผ่านยัง (ที่พักของ) นักบวชคนนั้น เด็กหนุ่มก็จะแวะนั่งฟังคำเทศนาของนักบวชท่านนั้น และติดใจและเคลิ้มในเส้นทางและคำพูดของเขา (จนทำให้เด็กหนุ่มเดินทางไปหานักมายากลสาย) ดังนั้นพอเด็กหนุ่มเดินทางไปถึงยังบ้านพักของนักมายากล นักมายากลก็จะเฆี่ยนตีเขา และถามเขาว่า “สิ่งใดได้กักตัวเจ้าไว้ (ทำไมเจ้าถึงได้มาสาย)?” (พอเด็กหนุ่มเดินทางกลับบ้าน เด็กหนุ่มก็จะแวะนั่งฟังคำเทศนาของนักบวชจนเพลินอีก) พอเด็กหนุ่มกลับไปถึงบ้าน ครอบครัวที่บ้านก็จะเฆี่ยนตีเขาอีก และจะถามเขาว่า “สิ่งใดได้กักตัวเจ้าไว้ (ทำไมเจ้าถึงได้กลับมาถึงบ้านสาย)?”

(วันต่อมา) เด็กหนุ่มคนนั้นจึงได้เล่าเรื่องราวที่เขาถูกทางบ้านและนักมายากลเฆี่ยนตี เพราะไปเรียนสายและกลับบ้านสายให้แก่นักบวชฟัง นักบวชจึงสอน (วิธีหลีกเลี่ยงจากการถูกเฆี่ยนตีว่า) “เมื่อนักมายากลจะเฆี่ยนตีเจ้า เจ้าก็จงตอบเขาไปว่า “ครอบครัวของผมได้กักตัวผมไว้” และเมื่อครอบครัวของเจ้าจะเฆี่ยนตีเจ้า เจ้าก็จงตอบพวกเขาไปว่า “นักมายากล (อาจารย์) ได้กักตัวผมไว้”

ตอนที่ 2 (เด็กหนุ่มกับสัตว์ร้าย)

เด็ก หนุ่มได้ปฏิบัติเช่นนั้นอย่างต่อเนื่อง (ไปนั่งเรียนกับนักบวชก่อนแล้วค่อยไปเรียนกับนักมายากล พอขากลับก็จะแวะนั่งเรียนกับนักบวชต่อ ก่อนที่จะเดินทางกลับบ้าน) จนอยู่มาวันหนึ่ง เขาได้ไปเผชิญหน้ากับสัตว์ใหญ่ที่น่าสะพรึงกลัวตัวหนึ่งเพื่อทำลายมัน  ซึ่งได้สกัดกั้นเส้นทางสัญจรไปมาของประชาชนจนพวกเขาไม่สามารถเดินผ่านได้ (เพื่อเป็นการทดลองวิชาที่ได้เรียนรู้มาจากอาจารย์ทั้งสอง)

เด็ก หนุ่ม (กล่าวในใจว่า) “วันนี้ฉันจะได้รู้ว่าระหว่างกิจการ (วิชา) ของนักบวชกับกิจการ (วิชา) ของนักมายากล อันไหนเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงพึงพอใจมากกว่ากัน”
ดังนั้น เด็กหนุ่มจึงได้หยิบก้อนหินก้อนหนึ่งขึ้นมาพลันกล่าว (พึมพำว่า) “โอ้พระผู้อภิบาลของข้า ถ้าหากว่ากิจการของนักบวชเป็นที่พึงพอใจแก่พระองค์ และเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงยินดีมากกว่ากิจการของนักมายากล ดังนั้นขอพระองค์ได้โปรดสังหารสัตว์ร้ายตัวนี้ (ด้วยก้อนหินที่อยู่ในมือฉันก้อนนี้) เพื่อให้ประชาชนได้เดินผ่านไปมาตามเส้นทางนี้”
แล้วเด็กหนุ่มก็ขว้างหิน ก้อนนั้นไปยังสัตว์ร้ายตัวนั้น ทันใดนั้นสัตว์ร้ายตัวนั้นก็เสียชีวิตทันที ทำให้ประชาชนสามารถเดินทางผ่านไปมาได้สะดวกเหมือนเดิม

เห็นดังนั้น เด็กหนุ่ม (จึงได้เดินทางไปหานักบวชและ) เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้นักบวชฟัง
นัก บวชกล่าว (ด้วยความรู้สึกอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น) “หนุ่มน้อย (วันนี้) เจ้าได้เป็นคนที่ประเสริฐกว่าฉันแล้ว และ(การกระทำของเจ้าในวันนี้) จะทำให้เจ้าต้องถูกทดสอบ (ในวันใดก็วันหนึ่ง) ดังนั้นเมื่อใดที่เจ้าถูกทดสอบ เจ้าก็จงอย่าได้พาดพิงมายังฉัน”

ตอนที่ 3 (เด็กหนุ่มกับปุโรหิตผู้ตาบอด)

ต่อ มา เด็กหนุ่มได้ (ใช้วิชาที่ได้ร่ำเรียนมาจากนักบวช) ทำการรักษาคนตาบอดจนหายขาด (และสามารถมองเห็นได้ตามปกติ) และเที่ยวรักษาคนที่เป็นโรคต่างๆจนหายขาด (จนเรื่องราวความเก่งกล้าของเขาถูกกล่าวขานและร่ำลือไปถึงในพระราชวัง)
(ภาย ในพระราชวัง) มีผู้ใกล้ชิดกษัตริย์คนหนึ่ง (ปุโรหิตหรือที่ปรึกษาส่วนพระองค์ของกษัตริย์) ซึ่งเป็นคนตาบอด เมื่อเขาได้ยินข่าว (ที่เล่าลือถึงกิตติศัพท์และความสามารถของเด็กหนุ่มในการรักษาโรค) เขาจึงเดินทางไปหาเด็กหนุ่มพร้อมกับของกำนัลที่มากมาย
(ปุโรหิต กล่าวขอร้องด้วยความหวัง) “จงทำให้ข้าหาย (จากตาบอด) ด้วย แล้วเจ้าจะได้รับทรัพย์สินที่มีอยู่ (ต่อหน้าเจ้า) นี้ทั้งหมด”
(เด็ก หนุ่ม กล่าวแนะนำและเชิญชวน)  “ผมไม่สามารถทำให้ผู้ใดหายจากโรคร้ายได้หรอก แต่ผู้ที่ทำให้พวกเขาหายขาดจากโรคร้ายคืออัลลอฮฺผู้ทรงประเสริฐและสูงส่ง ต่างหาก ถ้าหากว่าท่านศรัทธาต่อพระองค์ ผมก็จะวิงวอนขอให้พระองค์ทรงบันดาลให้ท่านหายขาดจากโรคตาบอด”
ดังนั้น ปุโรหิตจึง (ได้สลัดทิ้งศาสนาเดิมของเขาและ) ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ เห็นดังนั้น เด็กหนุ่มจึงได้ (ยกมือ) วิงวอนขอดุอาต่ออัลลอฮฺ ขอให้พระองค์ทรงทำให้เขาหายขาดจากโรคตาบอด ฉับพลันปุโรหิตคนนั้นก็หายจากโรคตาบอด (และมองเห็นเหมือนคนปกติ)
หลังจากนั้นปุโรหิตจึง (เดินทางกลับไปยังพระราชวังและ) ไปนั่งลงใกล้ๆกับกษัตริย์เหมือนกับที่เขาเคยกระทำเป็นประจำ
กษัตริย์ ถามเขา (ด้วยความอัศจรรย์ใจ)ว่า “นี่ ท่านปุโรหิต ผู้ใดหรือที่ทำให้ตาของเจ้าได้กลับมองเห็นเหมือนเดิม”
ปุโรหิต ตอบ (ด้วยความปีติเป็นอย่างยิ่ง) ว่า “พระผู้อภิบาลของข้าน้อย”
กษัตริย์ (งงในคำตอบ) “ข้าหรือ”
ปุโรหิต (ชี้แจง) “หามิได้ แต่พระผู้อภิบาลของข้าน้อยและพระผู้อภิบาลของพระองค์คืออัลลอฮฺ”
กษัตริย์ (ปฏิเสธด้วยความโกรธเคือง) “เจ้ายังมีพระผู้อภิบาลอื่นนอกจากข้าอีกหรือ”
ปุโรหิต (ตอบโดยไม่ลังเลใจ) “ขอรับ (พระผู้อภิบาลของข้าน้อยและของพระองค์คืออัลลอฮฺ)”
(กษัตริย์รู้สึกกริ้วและเสียหน้าเป็นอย่างมาก ดังนั้นเขาจึงสั่งทหารให้จับตัวปุโรหิตและนำไปทรมานและข่มขู่เพื่อบีบคั้นหาความจริง)
ปุโรหิต ถูกทรมาน (ต่างๆนานา เพื่อบีบคั้นให้เขาเลิกศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และกลับไปเป็นเหมือนเดิม นั่นคือศรัทธาว่ากษัตริย์คือพระผู้อภิบาลของเขาแต่เพียงพระองค์เดียว จะอย่างไรก็ตาม การทรมานเหล่านั้น ก็ไม่สามารถทำให้ปุโรหิตเปลี่ยนแปลงจากการศรัทธาของเขาที่มีต่ออัลลอฮฺได้) จนในที่สุดเขา (เขาก็ไม่สามารถทนต่อการทรมานที่หนักหน่วงได้อีก ดังนั้น) เขาจึงได้ชี้ไปยังเด็กหนุ่ม (ว่าเป็นผู้ที่รักษาเขาให้หายขาดและสอนเขาว่า พระผู้อภิบาลที่แท้จริงคืออัลลอฮฺ)

ตอนที่ 4 (แลกศรัทธาด้วยชีวิต)

(หลังจากที่ปุโรหิตผู้ซึ่งถูกทรมานเพื่อบีบเค้นให้เขาบอกถึงที่มาของความเชื่อจนทนไม่ไหว และได้บอกกษัตริย์ว่ามาจากเด็กหนุ่ม)
กษัตริย์จึงส่งทหารไปพาตัวเด็กหนุ่มมา
กษัตริย์ (ข่มขู่) “หนุ่มน้อย มายากลของเจ้า (เข้มแข็ง) จนสามารถรักษาคนตาบอดและคนเป็นโรคเรื้อนและโรคต่างๆเหล่านี้จนหายขาดแล้ว หรือ ?”
เด็กหนุ่ม “ข้าน้อยมิได้ทำให้ผู้ใดหายจากโรคร้ายแม้แต่คนเดียว นอกจากอัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรและสูงส่ง (ที่ทรงบันดาลให้พวกเขาหายขาดจากโรคร้าย)”
กษัตริย์ (ลองเชิง) “ตัวข้าหรือ?”
เด็กหนุ่ม (ปฏิเสธ) “หามิได้?”
กษัตริย์ (กริ้วสุดขีด) “เจ้ายังมีพระผู้อภิบาลอื่นจากข้าอีกหรือ?”
เด็กหนุ่ม (ไม่สะทกสะท้าน) “ขอรับ พระผู้อภิบาลของข้าน้อยและของพระองค์คืออัลลอฮฺ”
ดั้ง นั้นกษัตริย์จึง (สั่งให้ทหาร)นำตัวเด็กหนุ่มไปทรมาน (เหมือนกับที่ได้ทรมานปุโรหิตก่อนหน้านี้) จนกระทั่งเด็กหนุ่มยอมพาดพิงถึงนักบวช (ผู้เป็นอาจารย์)
ดังนั้นกษัตริย์จึง (สั่งให้ทหาร) นำตัวนักบวชมาพบ
กษัตริย์ (ข่มขู่นักบวช) “เจ้าจงกลับคืนสู่ศาสนาเดิมของเจ้าเสีย”
นักบวชปฏิเสธ
ดังนั้นกษัตริย์จึง (สั่งให้ทหาร) เอาเลื่อยไปเลื่อยผ่าตรงกลางหัวของนักบวชจนขาดสองท่อน (นักบวชเสียชีวิต)
แล้วกษัตริย์หันมากล่าว (ขุ่มขู่) ปุโรหิต “เจ้าจงกลับคืนสู่ศาสนาเดิมของเจ้าเสีย”
ปุโรหิตปฏิเสธ
ดังนั้นกษัตริย์จึง (สั่งให้ทหาร) เอาเลื่อยไปเลื่อยผ่าตรงกลางหัวของปุโรหิตจนขาดสองท่อนและตกลงบนพื้น (ปุโรหิตเสียชีวิตอีกคน)

ตอนที่ 5 (ระหว่างสัจธรรมกับความจอมปลอม)

กษัตริย์ (หันมาข่มขู่) เด็กหนุ่ม “เจ้าจงกลับคืนสู่ศาสนาเดิมของเจ้าเสีย”
เด็กหนุ่มปฏิเสธ
ดัง นั้นกษัตริย์ (โกรธมากและสั่ง) ทหารจำนวนหนึ่ง “จงพาเจ้าหนุ่มคนนี้ขึ้นไปยังยอดเขานั้น พอถึงยอดเขาแล้ว จงถามเขา (อีกครั้งว่าจะยอมกลับสู่ศาสนาเดิมของเขาไหม) ถ้าเขายอมกลับคืนสู่ศาสนาเดิมของเขา (ก็จงพาเขาลงมาจากยอดเขา) แต่ถ้าเขาไม่ยอมก็จงกลิ้ง (โยน) เขาลงมาจากยอดเขาเสีย”
ทหารจึง (จับมัดเด็กหนุ่มและ) พาเขาไปยังยอดเขาดังกล่าว พอพวกเขาขึ้นไปถึงยอดเขา
เด็ก หนุ่ม (ดุอาต่ออัลลอฮฺ) “อัลลอฮุมมักฟินีฮิม บิมาชิอ์ตะ” (โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดปกป้องข้าน้อยจากความชั่วร้ายของพวกเขาตามที่พระองค์ทรงประสงค์)
ฉับ พลัน ภูเขาก็สั่นสะเทือนและเขย่าพวกเขาทั้งหมดจนกลิ้งตกลงมาจากยอดเขา (เหลือเพียงเด็กหนุ่มผู้มั่นในศรัทธาคนเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิต)
ดังนั้น เด็กหนุ่มพยายามหาทางกลับจนกระทั่งได้เดินเข้าไปหากษัตริย์อีกครั้ง
กษัตริย์ (ทั้งตกใจและประหลาดใจ) “บรรดาสหายของเจ้า (หมายถึงทหารที่พระองค์สั่งให้เดินทางไปกับเด็กหนุ่ม) ไปทำอะไรมา?”
เด็ก หนุ่ม (ด้วยความกล้าและเปี่ยมศรัทธา) “อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรและสูงส่งได้ทรงปกป้องข้าน้อยจากพวกเขาแล้ว” (พวกเขาเสียชีวิตหมดแล้ว)
กษัตริย์ (เคืองจนไม่รู้จะทำอย่างไร) จึงได้สั่งทหานอีกจำนวนวหนึ่ง “พวกเจ้าจงพาเจ้าหนุ่มคนนี้ไปยังขึ่นเรือ พอพวกเจ้าพาเขาไปถึงยังกลางทะพวกเจ้าจงถามเขา (อีกครั้งว่าจะยอมกลับสู่ศาสนาเดิมของเขาไหม) ถ้าเขายอมกลับคืนสู่ศาสนาเดิมของเขา (ก็จงพาเขากลับไปขึ้นฝั่ง) แต่ถ้าเขาไม่ยอมก็จงโยนเขาลงทะเลเสีย”
ทหารจึง (จับเด็กหนุ่มมัดไว้และ) พาเขาขึ้นเรือไปยังกลางทะเล
เด็ก หนุ่ม (ดุอาต่ออัลลอฮฺ) “อัลลอฮุมมักฟินีฮิม บิมาชิอ์ตะ” (โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดปกป้องข้าน้อยจากความชั่วร้ายของพวกเขาตามที่พระองค์ทรงประสงค์)
ฉับ พลัน (เรือก็เกิดพลิกคว่ำและอับปางกลางทะเล) พวกทหารทั้งหมดจึงจมน้ำตาย (เหลือเพียงเด็กหนุ่มผู้มั่นในศรัทธาคนเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิต)
ดังนั้น เด็กหนุ่มพยายามหาทางกลับจนกระทั่งได้เดินเข้าไปหากษัตริย์อีกครั้ง
กษัตริย์ (ท้อแท้และสิ้นหวัง) “บรรดาสหายของเจ้า (หมายถึงทหารที่พระองค์สั่งให้เดินทางไปกับเด็กหนุ่ม) ไปทำอะไรมา?”
เด็กหนุ่ม (ด้วยความสงบใจและมั่นคง) “อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรและสูงส่งได้ทรงปกป้องข้าน้อยจากพวกเขาแล้ว” (พวกเขาเสียชีวิตหมดแล้ว)

ตอนที่ 6 (สละชีพเพื่อสัจธรรม)

หลัง จากนั้นเด็กหนุ่มก็กล่าวแก่กษัตริย์ (ด้วยความศรัทธามั่นในความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ) “พระองค์ไม่สามารถสังหารข้าน้อยได้หรอก จนกว่าพระองค์จะปฏิบัติตามที่ข้าน้อยสั่งให้พระองค์ทำ ถ้าหากพระองค์ปฏิบัติตามที่ข้าน้อยสั่ง พระองค์จะสามารถสังหารข้าน้อยอย่างแน่นอน หากไม่แล้ว พระองค์จะไม่มีทางสังหารข้าน้อยได้”
กษัตริย์ (ด้วยความสิ้นหวังและหมดหนทาง) ” (บอกมา) ต้องทำยังงัย”?
เด็ก หนุ่ม (จึงออกอุบายเพื่อให้ประชาชนได้ประจักษ์ถึงสัจธรรมที่แท้จริง โดยยอมแลกชีวิตตนเองเป็นเดิมพัน) “พระองค์จงรวบรวมอาณาประชาราษฎร์ ณ ลานกว้างแห่งหนึ่ง แล้วพระองค์ก็จับข้าน้อยมัดตรึงไว้กับไม้ แล้วพระองค์จงหยิบเอาลูกศรจากกระบอกใส่ลูกศรของข้าน้อยมาดอกหนึ่ง แล้วพระองค์จง (นำมันมาง้างไว้บนคันธณูพร้อมยิงแล้ว) กล่าว (ด้วยความจริงใจ) ว่า “บิสมิลลาฮฺ ร็อบบิลฆุลาม” (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลของเด็กหนุ่มคนนี้) (แล้วก็ปล่อยศรออกมายังหน้าอกของข้าน้อย) เมื่อพระองค์ปฏิบัติตามที่ข้าน้อยได้บอกไว้ พระองค์ก็จะสามารถสังหารข้าน้อยให้ตายไปทันที”
(เห็นดังนั้น กษัตริย์รีบบัญชาให้กองทหารไประดมเรียกประชาราษฎร์มารวมกัน ณ ลานกว้างหน้าท้องพระโรง แล้วก็สั่งให้นำตัวเด็กหนุ่มไปมัดตรึงไว้กับไม้) แล้วกษัตริย์ก็ปฏิบัติ (ตามคำแนะนำของเด็หนุ่ม) ด้วยการนำศรมาวางไว้บนใจกลางของคันธณู แล้วปล่อยศรออกไปพร้อมกับกล่าวว่า “บิสมิลลาฮฺ ร้อบบิลฆุลาม” (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลของเด็กหนุ่มคนนี้) ทันใดนั้น ลูกศรก็วิ่งไปปักที่ขมับของเด็กหนุ่ม แล้วเขาก็เอามือไปจับที่บาดแผลที่ลูกศรปักไว้ แล้วก็เสียชีวิตลง

ตอนที่ 7 (หลุมไฟและคำตักเตือนของทารกน้อย – ตอนจบ)

ครั้น เมื่อได้ประจักษ์แก่สายตาเช่นนั้น) ประชาชนที่มาชุมนุมกันจึงกล่าว (เป็นเสียงเดียวกัน) ว่า “พวกเราศรัทธาต่อพระผู้อภิบาลของเด็กหนุ่ม (พวกเราศรัทธาต่อพระผู้อภิบาลของเด็กหนุ่ม)”
ทหารคนสนิทจึงกล่าว (ตักเตือน) กษัตริย์ (ด้วยท่าทีที่ผิดหวัง) “พระองค์เห็นสิ่งที่พระองค์ทรงกำชับให้ระวังก่อนหน้านี้หรือยัง    แท้จริง – ข้าขอสาบานต่ออัลลอฮฺ – ความหายนะได้มาหาท่านแล้ว ประชาชนทุกคนต่างยอมรับและศรัทธา (ต่อพระผู้อภิบาลของเด็กหนุ่ม!)

กษัตริย์ (สงวนท่าทีไว้) “(พวกเจ้า) จงไปหาปากบ่อเก่าๆที่ชำรุด แล้วจงขุดมันให้เป็นหลุมใหญ่ เสร็จแล้วพวกเจ้าจงติดไฟให้ลุกโชน”
กษัตริย์ (หลังจากที่ทหารได้จัดการขุดหลุมใหญ่แล้วก่อไฟจลลุกไหม้อย่างน่ากลัวแล้ว) “ผู้ใดที่ยอมกลับตัวจากศาสนาที่นับถืออยู่ ก็จงปล่อยเขาไป ถ้าไม่ยอมกลับตัวก็จงโยนลงไป (ในเปลวเพลิงซะ)”
กองทหาร (ไปยืนเรียงรายอยู่ตามแนวของปากหลุมไฟ แล้ว) นำบรรดาผู้ศรัทธาไปจ่อไว้กับหลุมเพลิง (พร้อมยื่นข้อเสนอให้พวกเขากลับตัวจากศาสนาเด็กหนุ่มไปนับถือบูชากษัตริย์ เช่นเดิม ถ้าผู้ใดไม่ยอมกลับตัว) พวกเขาก็ถูกจะผลักลงไปในกองเพลิง (ที่กำลังลุกโชนนั้น)

(บนริมปากหลุมที่กองเพลิงกำลังลุกโชนอยู่นั้น) มีสตรีผู้ศรัทธานางหนึ่งที่กำลังสวมกอดทารกน้อยของนางที่ยังไม่หย่านม ดูเหมือนว่า (สองจิตสองใจและ) ถอยร่นออกไปด้านหลัง (และยื้อแย่งกับทหาร) ไม่ยอมให้ทหารจับตัวนางและลูกน้อยโยนลงไปในหลุมเพลิง (ที่กำลังลุกไหม้อย่างโชติช่วง เพราะความรักและเอ็นดูที่มีต่อลูก)
ทารกน้อย “โอ้แม่จ๋า…แม่จงอดทนเถิด แท้จริงแม่กำลังอยู่บนสัจธรรม”
(หลัง จากนั้นทั้งแม่ทั้งลูกจึงถูกจับโยนลงไปในเปลวเพลิงที่กำลังโฉบเฉี่ยวอย่าง บ้าคลั่งเป็นคนสุดท้าย สักครู่เหตุการณ์ทุกอย่างก็เงียบสงบ)

(จากหะดีษบันทึกโดยอิมามอะหมัด, อิมามมุสลิม และอันนะซาอียฺ จากรายงานของฮัมมาด อิบนุสะละมะฮฺ)

Leave a Reply